วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คำสอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน

การตำหนิติเตียนผู้อื่น
แม้เขาจะผิดจริงหรือไม่ผิด
ก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วย
และเป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์
เพราะฉะนั้นควรพิจารณาตัวเองจะดีกว่า




วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สมาธิ และ ประโยชน์ของการทำสมาธิ

สมาธิ คือ จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว (เอกัคคตารมณ์)
สมาธิธรรมชาติ คือ สมาธิที่ได้จากการหลับนอน การพักผ่อน การมีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นการอ่านหนังสือ เป็นต้น
สมาธิที่สร้างขึ้น คือ สมาธิที่ได้จากการตั้งใจที่จะทำสมาธิอย่างมีระบบและมีวิธีปฏิบัติอย่างมีขั้น ตอน ได้แก่การเดินจงกรม และ การนั่งสมาธิเพื่อกำหนดจิตให้เป็นหนึ่งเดียว นับตั้งแต่วินาทีที่เริ่มนึกคำบริกรรมก็ถือว่าได้เป็นสมาธิแล้ว
ประโยชน์ของการทำสมาธิ
1) หลับสบายคลายกังวล
2) กำจัดโรคภัยไข้เจ็บ
3) สมอง และ ปัญญาดี
4) รอบคอบในการทำงาน
5) ระงับความร้ายกาจ
6) บรรเทาความเครียด
7) มีความสุขพิเศษ
8) จิตใจอ่อนโยน
9) กลับใจได้
10) เวลาสิ้นลมพบทางดี
11) เจริญวาสนาบารมี
12) เป็นกุศล

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตารางบันทึกการปฏิบัติวิทิสาสมาธิ



ตารางบันทึกการปฏิบัติวิทิสาสมาธิ
เป็นตารางบันทึกขนาดเล็กสามารถพกพาติดตัวได้สะดวก เพื่อจะได้เป็นการเตือนตัวเองในการที่จะปฏิบัติสมาธิเพราะผลที่ได้จากการปฏิบัติสมาธินั้น จะต้องเกิดจากการทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ



วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิทิสาสมาธิ (Vidisa Samadhi)





วิทิสาสมาธิ คือ การปฏิบัติสมาธิของบุคคลทั่วไปอย่างง่ายที่สุด ทั้งบุคคลที่เคย และไม่เคยทำสมาธิมาก่อน เป็นการสะสมพลังจิตให้แก่ผู้ปฏิบัติ ที่สามารถทำได้ในทุกสถานที่ทุกโอกาสตามความเหมาะสม

วิธีปฏิบัติ ห้ปฏิบัติทุกวัน วันละ 3 ครั้ง (เช้า-กลางวัน-เย็น) ครั้งละ 5 นาที ณ สถานที่ใดๆ ก็ได้ ที่ไม่มีคนพลุกพล่านในลักษณะ อิริยาบทนั่งจะเหมาะสมที่สุด โดยการบริกรรม พุทโธ พุทโธ พุทโธ ตลอดเวลา่ 5 นาที หรือ มากกว่า

ผลที่ได้รับ การกำหนดจิตให้สงบเเป็นสมาธิได้ วันละ 3 ครั้งๆละ 5 นาที ก็เท่ากับวันละ 15 นาทีนั้น เมื่อรวมกัน 30 วัน(1เดือน) ก็จะได้สมาธิ 450 นาที หรือ 7.5 ชั่วโมง ซึ่งการทำจิตให้สงบเป็นสมาธิได้ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อเดือนนั้น จิตจะมีพลังหรือเรียกว่า เป็นผู้มีพลังจิตเพียงพอแก่การควบคุมจิตใจ มิให้เกิดความหวั่นไหว เกิดความเครียด เกิดความวุ่นวาย ในทางตรงข้าม จะเป็นผู้มีความเบิกบาน มีสติ มีปัญญา มีหลักประพฤติดีงามอันส่งผลให้เกิดความสงบสุขแก่ตนเองและสังคม